วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ប្រាសាទ​ព្រះវិហារเปรี๊ยะ วิเฮียร์ - วิหารศักดิ์สิทธิ์อังกฤษ: Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก หมายถึง ภูเขาไม้คาน) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร หมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุดปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา
     ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดเด่นอยู่เหนือเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่าประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาเดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ จากนั้นอีก 60 ปีต่อมา ประเทสกัมพูชา (นำโดยสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตยเหนือปราวาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งมหด 73 ครั้ง) ต่อมาศาลโลกได้ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 นับเป็นการเสียดินแดนครั้งสุดท้ายของประเทศไทย โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
   1. ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
   2. ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
   3. ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่


ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหาร
        บันไดดินด้านหน้าของปราสาท บันไดดินด้านหน้าเป็นทางเดิน ขึ้นลงขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา บางชั้น สกัดหินลงไปในภูเขา มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวารบาล (ทะ-วา-ละ-บาน) เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง
ปราสาทแห่งนี้มีชื่อเรียกเก่าสุดว่า ภวาลัย ในรายงานของกรมวิชาการ และมีชื่ออื่น ได้แก่ ศรีศิขรีศวรวีราศรม และตปัสวีนทราศรม เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร" ส่วนนามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร"
บางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทว่า "พนมพระวิหาร" (ភ្នំព្រះវិហារ) ขณะที่ชาวไทยมักเรียกว่า "เขาพระวิหาร" ราว พ.ศ. 2551 คำว่า "เขา" ได้ถูกละไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาซึ่งปราสาทสร้างขึ้น ซึ่งจำแนกได้เป็น "เขาพระวิหาร" และ "ปราสาทพระวิหาร"

ผลการตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร
ศาลโลกรับตีความคำร้องของกัมพูชา และมีอำนาจที่จะตีความคำพิพากษา ปี 2505
ศาลปฏิเสธที่จะตัดสินตามคำขอของกัมพูชา ที่ให้รับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ในฐานะเครื่องกำหนดเส้นเขตแดน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตคำพิพากษาเดิม และจะพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น
ศาลบอกว่าการขีดเส้นตามมติ ครม. ปี 2505 ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาของศาล เพราะไม่ได้กำหนดตามแผนที่ภาคผวนก 1 แต่กำหนดตามสันปันน้ำ
 ศาลโลกมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยต้องถอนทหารตำรวจจากเขตแดนดังกล่าว และให้ไปเจรจากันเอง 
สรุปศาลไม่ได้ตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาเดิม 2505 / พิพากษาเฉพาะตัวปราสาทไม่แตะพื้นที่ 4.6 ตร.กม. สั่งย้อนดูวรรค 98 ของคำพิพากษาเดิม
ท่านทูตวีระชัย แถลงศาลโลกไม่ได้ให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และภูมะเขือ แก่กัมพูชา แต่จะมีพื้นที่เล็กมากๆ ซึ่งกำลังคำนวณอยู่